เมนู

ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย ในมโนทวาร แก่กามาวจรเวทนาซึ่งเป็นไปด้วย
อำนาจตทารัมมณะในมโนทวารนั้น ฉะนี้แล.
นิเทศเวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย จบ

ว่าด้วยนิเทศตัณหา

(บาลีข้อ 263)
พึงทราบวินิจฉัยนิเทศตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ต่อไป
ตันหา 6 อย่าง พระองค์ทรงแสดง
ไว้ในนิเทศนี้ โดยความต่างแห่งรูปตัณหา
เป็นต้น ในตัณหา 6 เหล่านั้น แต่ละตัณหา
ตรัสไว้ 3 อย่าง โดยอาการที่เป็นไป.

ก็ในนิเทศตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัยนี้ มีอธิบายว่า ตัณหา 6
อย่างเหล่านั้นพระองค์ทรงแสดงแล้ว คือ ประกาศแล้ว ตรัสแล้ว ด้วยอำนาจแห่ง
ชื่อโดยอารมณ์ว่า รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ-
ตัณหา ธรรมตัณหา ดังนี้ เหมือนบุตรที่เขาประกาศชื่อตามบิดาว่า เสฏฺฐิ-
ปุตฺโต
( บุตรเศรษฐี) พฺราหฺมณปุตฺโต (บุตรพราหมณ์) ฉะนั้น. บรรดา
ตัณหา 6 เหล่านั้น พึงทราบอรรถแห่งคำโดยนัยนี้ว่า รูเป ตณฺหา รูปต-
ณฺหา
ตัณหาในรูป ชื่อว่า รูปตัณหา ดังนี้.

ว่าด้วยตัณหา 18 อย่าง


ก็แล บรรดาตัณหาเหล่านั้น ตัณหาแต่ละอย่าง ตรัสไว้ 3 อย่างนี้
คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตามอาการที่เป็นไป จริงอยู่

ในกาลใดรูปตัณหาแหละยินดีรูปารมณ์ที่มาสู่คลองจักษุด้วยอำนาจความยินดี
ในกามเป็นไป ในกาลนั้นชื่อว่า กามตัณหา ในกาลใดรูปตัณหาเป็นไปพร้อม
กับทิฏฐิที่เป็นไปว่า รูปารมณ์นั้นนั่นแหละเที่ยง ยั่งยืน ดังนี้ ในกาลนั้นชื่อว่า
ภวตัณหาเพราะราคะเกิดร่วมกับสัสสตทิฏฐิ ตรัสเรียกว่า ภวตัณหา แต่ในกาล
ใด รูปตัณหานั้นเป็นพร้อมกับอุจเฉททิฏฐิที่เป็นไปว่า รูปารมณ์นั้นนั่นแหละ
ขาดสูญ ย่อมพินาศ ดังนี้ ในกาลนั้น ชื่อว่า วิภวตัณหา เพราะราคะเกิดร่วม
กับอุจเฉททิฏฐิ ตรัสเรียกว่า วิภวตัณหา. แม้ในสัททตัณหาเป็นต้นก็นัยนี้
เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ตัณหาเหล่านี้ จึงรวมเป็น 18.
ตัณหาเหล่านั้นในรูปภายในเป็นต้นมี 18 อย่าง ในภายนอกมี 18
อย่าง เพราะฉะนั้น จึงเป็น ตัณหา 36 อย่าง ตัณหาเหล่านั้นเป็นอดีต 36
อนาคต 36 เป็นปัจจุบัน 36 รวม ตัณหา 108 ด้วยประการฉะนี้.
ก็ตัณหา 108 เหล่านั้น เมื่อย่อลง พึงทราบว่าเป็น ตัณหา 6 ด้วย
สามารถแห่งอารมณ์มีรูปเป็นต้น หรือเป็นตัณหา 3 เท่านั้น ด้วยอำนาจ
กามตัณหาเป็นต้น.
ก็เพราะสัตว์เหล่านี้ ยินดีเวทนาอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจอารมณ์มีรูป
เป็นต้น จึงทำสักการะใหญ่แก่จิตรกร (ช่างเขียน) คนธรรพ์ (นักดนตรี)
ผู้ปรุงแต่งด้วยของหอม พ่อครัว ช่างทอ และแพทย์ผู้ทำวิธีต่าง ๆ ให้เกิด
ความยินดีเป็นต้น อันให้ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้น ด้วยยึดเวทนาว่าเป็นของเรา
เหมือนบุคคลผู้รักใคร่บุตรด้วยความยึดถือบุตรเป็นของเรา กระทำสักการะ
ใหญ่แก่นางนม ฉะนั้น ตัณหาเหล่านั้นแม้ทั้งหมด พึงทราบว่า เกิดเพราะเวทนา
เป็นปัจจัยแล.

ว่าด้วยสุขเวทนาที่เป็นวิบากเป็นปัจจัย


แต่เพราะในนิเทศว่า เวทนาปจฺจยา
ตณฺหา ทรงประสงค์เอาสุขเวทนาที่เป็น
วิบากอย่างเดียวเท่านั้น ฉะนั้น เวทนานี้จึง
เป็นปัจจัยต่างเดียวเท่านั้นแก่ตัณหา.

คำว่า เป็นปัจจัยอย่างเดียว คือเป็นปัจจัยด้วยอุปนิสสยปัจจัย.

ว่าด้วยเวทนา 3 เป็นปัจจัย


อีกอย่างหนึ่ง เพราะว่า
คนมีทุกข์ ย่อมปรารถนาสุข คนมี
สุข ก็ย่อมปรารถนาสุขแม้ยิ่งขึ้นไป ส่วน
อุเบกขาตรัสว่า สุขนั่นแหละ เพราะเป็น
ธรรมสงบ.

ฉะนั้น เวทนาแม้ทั้ง 3 จึงเป็นปัจจัย
แก่ตัณหา พระมหาฤาษี จึงตรัสว่า ตัณหา
เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย.

อนึ่ง เพราะเว้นอนุสัยเสีย แล้ว
ตัณหาย่อมไม่เกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ฉะนั้น ตัณหานั้นจึงไม่มีแก่พราหมณ์ผู้จบ
พรหมจรรย์แล.

นิเทศตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย จบ